บ้านกลางไพร......

บ้านกลางไพร ประสาป่าดอย ความสุขเล็กน้อยแต่ดูยิ่งใหญ่....

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ท่านอยู่จุดไหนของคนมองงานกราฟิค

เท่าที่มองและสังเกตุเห็นการวิจารย์งานกราฟิคของแต่ละคนที่เข้ามายังไทยกราฟ วิจารย์ งานแบบแค่มองด้วยตาเท่านั้นและตามความรู้สึกของคนว่าสวยไม่สวย และวันนี้เรามาเข้าใจ กันว่าเขาแบ่งระดับคนมองงานกราฟิคกันเป็นอย่างไร

ผู้ที่ฝึกฝนมาเยอะได้เรียนรู้ได้ปรับปรุงได้พัฒนา ยอมจะเข้าใจด้านกราฟิคทีแน่นอนที่สุด ต้องพัฒนาจิตใจของตนเองด้วย เพราะงานกราฟิคก็คล้านงานศิลปะหละ งานบางงานคน ต่อหลายคนก็ทำเหมือนกันได้ แต่คุณค่าของงานทุกชิ้นขึ้นอยู่กับ การถ่ายทอดการสื่อความหมายและอิทธิพลต่อจิตใจในการมองของคนได้ เช่น ระดับสูงอย่างเช่น ท่านอาจารย์ถวัลย์ อาจารย์เฉลิมชัยฯ ท่านเหล่านี้ ธนาได้สัมผัสตอนที่เป็น Webmaster ให้กับศูนย์ศิลปะวัฒนธรรม ของสถาบันราชภัฏเชียงราย ท่านมองงานได้อย่างเข้าถึงธรรมชาติ อย่าทานอาจารย์ถวัลย์ฯ ท่านเคยพูดถึงสีดำได้อยางโดนใจว่า ...
สีดำเป็นแม่สีของทุกสี เมื่อเข้าไปอยูสีไหนสีนั้นจะโดนอิทธิพลสีดำครอบงำไปหมด คำพูดสั้นแค่นี้ถ้าเราเอาไปคิดเอาไปพิจารณาดูว่า สมมุติถ้ามีสีแดง อยู่สีหนึ่ง เอาสีดำผสมสีแดงในอัตราส่วน
50/50 ดีแดงมันจะ กลายเป็นสีแดงทึบออกดำทันที มิอาจต้านทานอำนาจของ สีดำได้ ลองคิดดูว่ามันเป็นอะไรที่เราคาดไม่ถึงว่ามัน จะมีอำนาจของสีดำเช่นนี้ได้ ไทยกราฟเลยต้องมีสีดำเป็นตัวเน้น ถ้าดูความหมายจากสีดำตามหนังสือต่างๆ ที่เขียนกันเกี่ยวกับเรื่องสี มันจะดูออกไปทางหนักเน้น มั่นคงเลวร้าย ต่างนานา และผมก็ชอบฟังทุกเรื่องที่ท่าน ผู้มีปัญญา เหล่านั้นพูดวิเคราะห์ในสิ่งที่เป็นธรรมดา กลายเป็นสิ่งที่ไม่ธรรมดาได้ ซึ่งงานของทานใครดูด้วยตาไม่อาจจะ วิจารย์อะไรต่างๆ นานาได้ เพราะถ้าว่างานแบบนี้คนธรรมดาทำได้ไหม ถ้าไปเปิดหนังสือที่มีผลงานศิลปะ หลายต่อ หลายเล่มมาเทียบกัน จะเห็นว่างานแนวนี้มีเยอะ แต่ทำไมงานท่านเหล่านี้จึงเด่นและดีกว่างานคนอื่นที่ทำลักษณะ คล้ายๆ กันหละ เท่านสามารถให้คนมองงานท่านเป็นเรื่องราวไจกาภาพเดียวที่ทานสื่อถึงอะไรต่างๆ นานามากมาย เน้นคำสอนแผงด้วย หลักธรรมต่างๆ ทำงานของท่านดูมีชีวิตมีอำนาจในตัวที่กล่าวมานี้ ก็จะชี้ให้ทุกท่านเห็นว่า งานกราฟิคถ้าเรามองด้วยตาปล่าวแล้วมิมีองค์ความรู้ที่สามารถอธิบายงานและ ใส่จินตนาการอธิบายงานเป็นแนวแบบสร้างสรรค์ได้ เราก็มิอาจจะสัมผัสงานนั้นด้วยใจได้ เพียงสัมผัสด้วยดวงตาเท่านั้น สิ่งเหลานี้ทำให้ผมซึมซับ และเข้าใจอะไรหลายอย่างกับการมอง งานศิลปะและเอามาประยุกต์กับงานกราฟิกได้ และ ใช้มันมาสร้างสรรค์ไทยกราฟขึ้นมา เอาหละเพื่อให้เห็นได้ชัด ผมจะยกตัวอย่าง จากเนื้อหาบางสวนในหันสือ Be Graphic ของ คุณโสรชัย นันทวัชรวิบูลย์ (แต่เสริมแนวความคิดของไทยกราฟเข้าร่วม) และยกตัวอย่างหลักการ วิเคราะห์งานของธนา ว่าการวิเคราะห์งานแบบไหนจะยืนอยู่จุดไหนของผู้มองงานกราฟิคว่ามีกี่ระดับ ...
1. คนในระดับทั่วไป.

คนทั่วไปจะมองงานด้วยความรู้สึกหรือเซ็นส์ของมนุษย์เรานั้นเอง เหมือนคุณมองดำไม้สีดำกับดอกไม้สีชมพู คุณว่าอย่าง ไหนสวยหลายต่อหลายท่านจะมองว่าดอกไม้สีชมพูสวยเพราะมันมีสีสวยสดใสดี การที่หลายท่านจะมองยังงี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร หรอกเพราะมันเป็นความรู้สึกที่เกิดจากการมอง ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีความรู้สึกในการมองไม่เหมือนกัน มันไมมีสิ่งไหนถูกสิ่ง
ไหนผิดเสมอไปโลกสวนตัวของใครก็ของมัน แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน และไม่มีใครมาห้าม และนี้คือจุดเริ่มต้นของตน มองงานกราฟิคระดับแรก


2. คนที่มองงานเป็น วิจารย์งานได้

คนระดับสองนี้เป็นคนเริ่มสนใจงานกราฟิคมากยิ่งขึ้น และเริ่มชอบดูชอบศึกษาวิธีการกระบวนการทำงานกราฟิค ของการออกแบบ ในงานกราฟิคแต่ละประเภท และสามารถมองและเข้าใจองค์ประกอบของงานกราฟิกนั้นได้ และคิดวิเคราะห์งานนั้นได้ เช่น ... ตกตัวอย่าง มีงานออกแบบ ดอกบัวอยู่สองดอก เพื่อเป็นโลโก้ ดอกแรกเป็นดอกตูม ดอกสองดอก เป็นดอกบาน คนมอกราฟิค ระดับนี้เขาจะมองแบบหาเห็นผลมาแบ่งแยกข้อดีข้อเสียและชั่งน้ำหนักกันเลยดูตัวอย่าการวิเคราะห์การมองงานกราฟิค


ดอกบัวตูม
ข้อดี : ดอกบัวตูมมีรูปทรงที่จำได้ง่ายไม่ซับซ้อน องค์ประกอบก็มองง่ายกว่า คือดูเป็นวงรีปลายแหลมเท่านั้น



ข้อเสีย : ดอกบัวตูมไม่มีรายละเอียดความงดงามน่าสนใจ ไม่มีลีลามิติ ดูเรียบง่ายเกินไป ไม่ดึงดูดสายตา



ดอกบัวบาน
ข้อดี : สวยงามมีลีลามีมิติมีความรายละเอียดที่ ดึงดูดสายตา ดึงดูใจ



ข้อเสีย : จำยากซับซ้อนเกินไปมีความไม่แน่นอน ถามว่าดอกบัวบานมีกลีบดอกเป็นมาตรฐานกี่ชั้น ซึ่งมันก็มีหลายพันธ์ด้วยกันยากจะอธิบายได้ในรายละเอียดของแต่ละสายพันธ์ของดอกบัว



เอาหละทีนี้มาชั่งน้ำหนักและอ้างอิงเหตุและผลว่าโลโก้ดอกบัวสองตัวนี้จะเลือกตัวทำโลโก้เป็นลักษณะไหน ก่อนอื่นต้องดูประโยชน์ที่นำมาใช้สอยได้โดยใช้การออกแบบโลโก้บริษัท สักบริษัทหนึ่งว่าจะเอาแบบไหนมาใช้ ก็ต้องวิเคราะห์เกี่ยวการตั้งบริษัทก่อนว่า ตั้งขึ้นมาต้องการให้เกิดรายได้ ซึ่งรายได้ของบริษัทนั้นมาจากคน ส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น การจะออกแบบโลโก้ของบริษัทนั้น ต้องทำยังไงก็ได้ให้มีเอกลักษณ์เรียบง่ายสื่อความหมายที่ดี จะทำให้คนจำ โลโก้ บริษัทเราได้ ...



เอาหละที่นี้มาชั่งน้ำหนักของงานดอกบัวสองดอกบัวนี้ว่าอันไหนโดนใจกรรมการที่สุด
โดยมีตัวแปลหลักสำคัญคือ การสื่อและ ให้คนทั่วไปเข้าถึงบริษัทได้ง่ายที่สุด คือจำโลโก้บริษัทง่ายที่สุด ...



จากการที่เราวิเคราะห์ถึงหน้าที่ของโลโก้ที่มีต่อการสื่อความหมายของบริษัทและผู้คนได้ดังนี้

"การจะออกแบบโลโก้ของบริษัทนั้น ต้องทำยังไงก็ได้ให้มีเอกลักษณ์เรียบง่ายสื่อความหมายที่ดี จะทำให้คนจำ โลโก้ บริษัทเราได้ ..."



ตัวแปลสำคัญที่จะทำให้บริษัทมีรายได้และอยู่ได้คือคน ...
คนต้องจำโลโก้เราง่าย : โลโก้จะไม่ซับซ้อนจนเกินไปรายละเอียดไม่ซับซ้อนจนเกินไป



ที่นี้พอจะชักน้ำหนักได้หรือยังว่าโลโก้ของบริษัทจะเป็นบัวไหน?
แน่นอนก็ต้องเป็นบัวตูมเพราะข้อดีของบัวตูมคือ "ดอกบัวตูมมีรูปทรงที่จำได้ง่ายไม่ซับซ้อน องค์ประกอบก็มองง่ายกว่า คือดูเป็นวงรีปลายแหลมเท่านั้น"



โลโก้ดอกบัวตูมที่มีเอกลักษณ์และอยู่หัวใจคนไทยหลายๆคนก็คือ โลโก้ธนาคารกรุงเทพ ปัจจุบันไงหละ เห็นไหมไอเดียร์ไม่ใกล้ไม่ไกลเราเลย





และที่สำคัญ ดอกบัวมีอิทธิพลต่อ พุทธสาชนิกชนอย่างเราๆ เพราะเกี่ยวข้องและมีเรื่องราวโดยตรงกับพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำของชาติไทย โลโก้นี้จะเด่นและจำได้ในหัวใจคนไทยเราได้ไม่ยากเลย ...



แหละนี่ก็คือ คนมองงานกราฟิคขั้นที่สอง (ลักษณะเป็นนักคิด Creative)
ปล. ขั้นสองทำไมไม่มีภาพดอกบัวเป็นภาพประกอบหละ เพราะทุกคนมีดอกบัวอยู่ในจินตนาการอยู่แล้ว และเข้าใจว่ามันมีลักษณะยังไงถึงเรียนกว่าบัวตูมบัวบาน ...



3. คนที่สามารถออกแบบงานได้
คนระดับสองจะเป็นนักคิด และแน่นอนคนที่มองงามกราฟิคระดับสามต้องเป็นนักทำนักออกแบบ ซึ่งมีผลมาจากการคิดวิเคราะห์หลังจากนั้นก็ลงมือทำกันหละ โดยสามารถเข้าใจการออกแบบองค์ประกอบพื้นฐานและองค์ประกอบสี และสามารถควบคุมองค์ประกอบต่างๆ ในภาพได้ และให้ออกมาอย่าง ลงตัว และสามารถถ่ายทอดภาพจากงานให้เป็นดั่งที่นึกคิด และจินตนาการเอาใว้ได้ เอาหละมาดูตัวอย่าง งานกัน ...



ยกตัวอย่างานโลโก้ที่หลายคนหาว่ากระจอกของธนากัน มาให้รู้ถึงเบื่องหลังคิดวิเคราะห์ในการทำกันเลยหละ



1.ลูกค้าให้คอนเซฟว่า อยากได้โลโก้ดอกบัวที่ไม่ใช่ดอกบัวแต่เป็นดอกบัว ??????
นี่คือโจทย์ ธนาเลยถามลูกค้าว่า แล้วมีแนวทางหรือภาพหรือโลโก้เวปไหนบ้างที่เป็นไอเดียร์ในการออกแบบ ลูกค้าก็ให้ภาพตัวอยางไอเดียร์มาดังตัวอย่าง.


2.เมื่อได้ตัวอย่างมาแล้วเนื่องจากภาพมันเลือกมาจึงต้องขยายเพื่อดูองคืประกอบของภาพและเสริมส่วนที่ขาดหายด้วยจินตนาการ







3.เมื่อพอจะมองสัดส่วนของงานโลโก้ตัวนี้ออกตามจินตนาการแล้ว และก็วิเคราะห์วางแผนกระบวนวิธีการทำ โลโก้ตัวนี้ต้องทำให้มันดูมีมิติชีวิตชีวาสักหน่อยโดยใช้หลักวิธีการ ศิลปะ photoshop (นำวัตถุที่มีรูปทรงมาต่อกันผสมผสานด้วยจินตนาการโดยทำให้เป้นรูปเป็นร่างขึ้น) แล้วใช้หลักการ ต่างสีต่างแสง เพื่อปรับให้สีเดียวมีหลากหลายน้ำหนักในภาพๆ เดียว ตัดสีตัดแสงสร้างน้ำหนักแสงในรูปภาพ อีกสักหน่อย แล้วทำการตัดสีตัแสงใน Layer ให้มันสะดุดตาอีกที มันน่าจะลงตัวหละนะ



4. เมื่อวางเทคนิควิธีการในหัวเรียบร้อยแล้วเอาหละมาทำตามจินตาการกันเลย ...
ขั้นตอนแรก : ขึ้นรูปให้เป็นลักษณะแกนดอกบัวก่อน ดังตัวอย่าง







ขั้นตอนที่สอง : ใส่ Effects ที่ทำให้ดูลักษณะนูนโดยทำการเลือกสีโทนใกล้เคียงกันแล้วทำการไล่เฉด แล้วปรับแสงให้นุ่มนวล ก็จะได้ดั่งภาพ.







ขั้นตอนที่สาม : ทำองค์ประกอบภายนอกดอกบัวโดยใช้องค์ประกอบของแกนดอกตัวที่ทำแล้วประยุกต์โดยใช้ Selection เลือกและ Copy สัดส่วนที่ต้องการแล้วเสริมความเคลื่อนไหวด้วย Filter ---> Distort --> Twirl จะได้ดั่งภาพ.







ขั้นตอนที่สี่ : หลังจากนั้นให้ทำการปรับระดับความต่างของสีของดอกบัว โดยใช้ Hue/Sturation และปรับแสงและสีจน ได้ตามที่ต้องการ พอเราเอาส่วนต่างมาประติดประต่อกันก็จะได้ดังภาพ.







ขั้นตอนที่ห้า : เมื่อได้ Layer ของวัตถุที่มาประกอบเป็นรูปทรงของภาพแล้วจากนั้นให้ทำการใส่ Layer ของแสงเข้าไป ซึ่งแต่ละสัดส่วนของ Layer จะใส่แสงให้มีลักษณะดังนี้



ให้ทำการ Copy Layer นั้นเท่ากับชั้นแสงของ Layer นั้น
Copy 1 แสงจะเป็น Multiply
Copy 2 แสงจะเป็น Multiply
Copy 1 แสงจะเป็น Color Burn












และเมื่อมาซ้อนกันจะสร้างสีสรรค์ที่สะดุดตาให้กับงานของเราดังตัวอย่าง.



ขั้นตอนที่หก : เพิ่มเส้นเน้นความคมให้กับภาพหน่อยเป็นไงมันดูลอยไม่ยึดติดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเลย โดยใสสีดำอยู่ข้างหลัง Layer ทุก Layer แล้วลดความรุนแรงของสีดำโดยการปรับคา Opacity 50% จากนั้นก็จะได้งานโลโก้ดอกบัวตามที่เราวางแนวเอาใว้







เป็นไงขอรับแหละนี่ก็คือ คนมองงานงานกราฟิควิเคราะห์และสามารถออกแบบตามที่คิดวิเคราะห์ได้ดั่งใจ ในขั้นที่ 3 นี้ ...

ขั้นที่4.
เมื่อเราสามารถออกแบบงานได้ดั่งใจแล้วเราเองต้องหาเอกลักษณ์และแนวความคิดใหม่ๆ
มาใส่ในงานเรา เพื่อพัฒนางาน ของเราให้ทันสมัยและ ดึงดูดใจแต่ผู้พบเห็น ... ก็คือลองเอาแนวความคิดใหมของเรามาพัฒนาในงานเก่าๆ ที่เราเคยทำมาในสมัยมีความรู้ระดับหนึ่งแล้วมันมาพัฒนาเป็นงานใหม่ที่ทันสมัยและงามตามความรู้ที่เราเพิ่มเติมขึ้นทุกวัน เมื่อเราเสาะแสวงหามัน แหละนี้คือนักพัฒนาแล้วหละ ไม่ว่าจะคิดสิ่งใหม่ หรือพัฒนาสิง่เก่าให้เป้นสิงทีใหม่ได้
ตัวอย่าง.
ธนาใช้หลักการศิลปะ Photoshop ที่ธนาค้นพบด้วยตัวเอง มาประยุกต์กับ Effects การสร้างไฟ จากนั้นเอาวัตถุมา ประติดปะต่อกันจนกลายเป็นมังกร ดังตัวอย่าง.



New
Vision

จึง ณ จุดนี้ธนามีความรู้เรื่ององค์ประกอบของภาพจากการศึกษาค้นหว้าในหนังสือ Be
Graphic ของ คุณโสรชัย นันทวัชรวิบูลย์ ทำให้ได้ปัญญาในการให้แสงใน Layer เพื่อสร้างความสะดุดตาให้กับงาน ก็เอางานมังกรในตัวอยางดั่งกล่าวมาเสริมอำนาจ ความรู้ด้านแสงใน Layer มาทำให้สะดุดตายิ่งขึ้นก็จะได้ Vision ใหม่ในงานเก่าดังภาพ.

สรุปแล้วการมองงานกราฟิคจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน คือ
1.ระดับผู้ชม : ดูและบอกตามความรู้สึก
2.ระดับผู้คิด : ดูและสามารถคิดวิเคราะห์เห็นกระบวนการทำได้
3.ระดับผู้ทำ : ดูและคิดและวิเคราะห์และสามารถแจงกระบวนการวิธีการออกแบบได้ดั่งที่คิด
4.ระดับผู้พัฒนา : ดูและคิดและวิเคราะห์และทำและประยุกต์นำเอาความรู้เทคนิคใหม่ๆ มาเสริมความน่าสนใจให้กับงานได้

คราวนี้ถามตัวเองสิว่าเราอยู่จุดไหนของคนที่มองงานกราฟิค?
น้อมรับคำติชมจากทุกท่าน ...
ขอปัญญาเกิดแด่ท่าน
ธนา mastertana
ปล.เนื้อหาบางส่วนประยุกต์จากหนังสือ Be Graphic ของ คุณโสรชัย นันทวัชรวิบูลย์

ไม่มีความคิดเห็น: