ในบึงน้ำแห่งหนึ่งมีพวกอึ่งอ่างอยู่มากมาย และวันหนึ่งมีวัวตัวหนึ่งเดินเข้ามาในบึงน้ำ
ขณะที่วัวกำลังลงมากินน้ำนั้นได้เหยีบลูกอึงอ่างตายไปหลายตัว
โอ้แม่จ๋าขณะที่พวกเรากำลังเล่นน้ำอยู่นั้นมีวัวตัวหนึ่งเหยีบพวกเราตายไปหลายตัว
ขั้นตอนในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ขั้นตอนในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นขั้นตอนสำคัญ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนจำเป็นต้องศึกษาขั้นตอนในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ นำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติก่อนที่จะลงมือสร้าง เพราะการ สร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยไม่มีขั้นตอนการออกแบบที่แน่ชัด นอกจากจะ ทำให้เกิดการเสียเวลาแล้วยังส่งผลให้ได้งานซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์หรือ ไม่มีประสิทธิภาพได้ Alessi and Trollip, 1991
ได้เสนอขั้นตอนการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่น่าสนใจ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการออกแบบ 7 ขั้นตอน โดยสามารถทำเป็นAlessi and Trollip, 1991
ขั้นตอนที่ 1. ขั้นตอนการเตรียม (Preparation)
- กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Determine Goal and Objective)
- รวบรวมข้อมูล (Collect Resources) - เรียนรู้เนื้อหา (Learn Content)
- สร้างความคิด (Generate Ideas)
ขั้นตอนที่ 2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction)
- ทอนความคิด (Elimination of Idea)
- วิเคราะห์งานและแนวคิด (Task and Concept Analysis)
- ออกแบบบทเรียนขั้นแรก (Preliminary lesson Description)
- ประเมินและแก้ไขการออกแบบ (Evaluation and revision of the design)
ขั้นตอนที่ 3. ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson)
ผังงานคือชุดของสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม การเขียนผังงานเป็นสิ่งสำคัญทั้งนี้ก็เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี จะต้องมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และปฏิสัมพันธ์นี้จะสามารถถูกถ่ายทอดออกมาในรูปของสัญลักษณ์ซึ่งแสดงกรอบการตัดสินใจและกรอบเหตุการณ์
ขั้นตอนที่ 4. ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard)
การสร้างสตอรี่บอร์ดเป็นขั้นตอนของการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษ เพื่อให้การนำเสนอ ข้อความและสื่อในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบนจอคอมพิวเตอร์ต่อไป
ขั้นตอนที่ 5. ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรม (Program Lesson)
ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมนี้เป็นกระบวนการเปลี่ยนสตอรี่-บอร์ดให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ขั้นตอนที่ 6. ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบการเรียน (Produce Supporting Materials)
เอกสารประกอบการเรียนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เอกสารประกอบการเรียนอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
- คู่มือการใช้ของผู้เรียน
- คู่มือการใช้ของผู้สอน
- คู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ
- เอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วไป
ขั้นตอนที่ 7. ขั้นตอนการประเมินและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise)
ในช่วงสุดท้ายบทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมดควรที่จะได้รับการ การประเมิน โดยเฉพาะการประเมินในส่วนของการนำเสนอและการทำงาน ของบทเรียน ขั้นตอนการออกแบบการสอนในคอมพิวเตอร์ช่วยสอน